top of page

ประวัติภูเก็ต

ภูเก็ต หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในชื่อว่า เมืองถลาง เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทยมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างจากจังหวัดอื่น คือเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ชื่อ ภูเก็ต เป็นคำที่เขียนสะกดผิดพลาดมาจากคำว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลว่าภูเขาแก้ว

 

ส่วนคำว่า ถลาง มาจากคำ Junk Ceylon, Silan, สลาง และฉลาง ปัจจุบันถลางเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต

Sea Gypsie Villageเดิม คำว่า ภูเก็ต นั้นใช้คำว่า ภูเก็จ อันแปลว่าเมืองแก้ว ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียกมณีคราม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดียโดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือหนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ.700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายูซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ตนั่นเอง

 

จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงค์ ต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศิริธรรมนคร เรียกเกาะภูเก็ตว่าเมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตรโดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางได้ไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่าสำหรับในสมัยอยุธยาชาวฮอลันดามาสร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต

 

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นกษัตริย์พม่าได้ยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ต่างๆ จนมาถึงเมืองถลาง ขณะนั้นเจ้าเมืองถลางถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภริยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 จึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านผู้หญิงจันเป็นท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็น ท้าวศรีสุนทรและในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งขึ้นเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปีพ.ศ. 2476 ได้ยกเลิก ระบอบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็นจังหวัดภูเก็ต จนถึงปัจจุบัน

bottom of page