top of page

งานอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร

งานจัดที่สี่แยกท่าเรือ บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร ซึ่งห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นอนุสาวรีย์ที่ชาวภูเก็ตร่วมกันสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2509 ตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี มีการจัดงานเฉลิมฉลอง มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สองวีรสตรีสามารถปกป้องเมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึกพม่าและสดุดีในวีรกรรมของทั้งสองคน

 

สอบถามรายละเอียด

มูลนิธิท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร โทร. 0 7621 1281 

 

ที่พัก

งานเทศกาลผ้อต่อ

เทศกาลพ้อต่อ (ตัวเต็ม: 普渡, ตัวย่อ: 普渡, พินอิน: Pǔdù ผูตุ่, ฮกเกี้ยน: พ้อต่อ ) จะจัดก่อนเทศกาล วันสารทจีน ก่อนหรือหลังประมาณ 7-15 วัน เป็นงานที่จัดขึ้นตามความเชื่อของชาวจีน ในประเทศไทยมีการจัดงานนี้ขึ้นในจังหวัดภูเก็ต โดยได้รับอิทธิพลจากชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากเมื่อร้อยกว่าปีก่อน โดยจัดตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน (ตรงกับเดือน 9 ปฏิทินจันทรคติไทย) ในช่วงเทศกาลดังกล่าวผู้คนจะหาของมาเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และวิญญาณเร่ร่อนทั้งหลายด้วยเครื่องบวงสรวง ซึ่งใช้ขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้ง เป็นรูปเต่าขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง ทาสีแดง ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน ดังนั้นการไหว้เต่า จึงเป็นการต่ออายุให้ตนเองและถือกุศลที่ยิ่งใหญ่

เทศกาลกินเจ หรือ เทศกาลกินผัก ภูเก็ต:

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=DmHRF_a8T1w

เทศกาลกินเจ หรือ เทศกาลกินผัก ภูเก็ต เทศกาลการกินเจ หมายถึง การถือศีลอย่างญวนและจีนที่ไม่กินของสดและของคาว แต่บริโภคอาหารประเภทผักที่ไม่มีของสดของคาวผสม ซึ่งมาจากรากศัพท์คำภาษาจีนที่ว่า "เจียฉ่าย" หมายถึง การกินอาหารผัก อาหารที่มาจากพืชผักธรรมชาติ ไม่มีเนื้อสัตว์ปะปน และไม่ปรุงด้วยผักฉุนทั้ง 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หัวหอม หลัก เกียว กุยช่าย ใบยาสูบ และงดเว้นน้ำนมสด นมข้น ด้วย เพราะถือว่าเป็นของสดของคาว

เทศกาลกินเจเป็นการถือศีลชำระจิตใจ และงดเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์ทุกชนิด มีระยะเวลา 9 วัน เริ่มตั้งแต่ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 จนกระทั่งถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี ซึ่งอยู่ในช่วง เดือนกันยายน-ตุลาคม ระหว่างเทศกาลกินเจตามรานค้าต่างๆ ทั่วจังหวัดจะนำธงสีเหลืองที่มีตัวหนังสือสีแดงมาประดับไว้หน้าร้าน เพื่อนั่นบ่งบอกให้รู้ว่า นี่คือเป็นช่วงเวลาของเทศกาลกินเจ หรือที่เรียกว่าประเพณีกินผัก เริ่มในเดือน กันยายนหรือเดือนตุลาคม เป็นงานประเพณีซึ่งชาวจีนที่เข้ามาอาศัยในภูเก็ต ยึดถือปฏิบัติมาช้านานตั้งแต่ พ.ศ. 2368 จนถึงทุกวันนี้ จะมีพิธีกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ พิธีอัญเชิญพระ พิธีลุยไฟ พิธีสะเดาะเคราะห์ พิธีส่งพระ เป็นต้น งานเทศกาลนี้นับเป็นงานที่ได้รับความสนใจ และเลื่อมในศรัทธาทั้งจากชาวไทย และชาวต่างประเทศมากที่สุดงานหนึ่ง

เป็นการถือศีลชำระจิตใจ และงดเว้นการบริโภคเนื้อสัตว์ทุกชนิด มีระยะเวลา 9 วัน เริ่มตั้งแต่ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 จนกระทั่งถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี ซึ่งอยู่ในช่วง เดือนกันยายน-ตุลาคม เป็นงานประเพณีซึ่งชาวจีนที่เข้ามาอาศัยในภูเก็ต ยึดถือปฏิติมาช้านานตั้งแต่ พ.ศ. 2368 จนถึงทุกวันนี้ จะมีพิธีกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ พิธีอัญเชิญพระ พิธีลุยไฟ พิธีสะเดาะเคราะห์ พิธีส่งพระ เป็นต้น งานเทศกาลนี้นับเป็นงานที่ได้รับความสนใจ และเลื่อมในศรัทธาทั้งจากชาวไทย และชาวต่างประเทศมากที่สุดงานหนึ่ง

เทศกาลกินผัก

ประเพณีลอยเรือ

พิธีเริ่มในกลางเดือน 6 และ 11 ของทุกปี โดยกลุ่มชาวเล ที่บริเวณหาดราไวย์และบ้านสะปำ จะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 13 ค่ำ ส่วนชาวเลที่อาศัยที่แหลมกา ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ต จะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 15 ค่ำ ประเพณีนี้ถือเป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวเล คล้ายกับพิธีลอยกระทงของชาวไทย มีการสร้างเรือจากไม้ระกำ ตัดผมตัดเล็บ และทำตุ๊กตาไม้แทนคน ใส่ลงไปในเรือ แล้วนำไปลอยเพื่อนำเอาความทุกข์โศก เคราะห์ร้ายต่างๆ ออกไปกับทะเล แล้วมีการร่ายรำรอบเรือ หรือที่เรียกว่า รำรองเง็ง

 

ความสำคัญ

                การลอยเรือของชาวเลสิงห์ ถือว่าเป็นการนำสิ่งชั่วร้ายที่มีอยู่ในร่างกายและหมู่บ้านของชาวเลทั้ง ๒ กลุ่ม ออกไปทิ้งในท้องทะเลลึก เพื่อให้ชาวเลทั้ง ๒ กลุ่มมีชีวิตที่เป็นสุข เป็นความเชื่อที่ก่อให้เกิดความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจ ของผู้ที่ได้ใช้ทะเลเพื่อการดำรงชีวิต

การประกอบพิธีลอยเรือนั้น ชาวเลและชาวเลสิงห์ ได้ประกอบพิธีปีละ ๒ ครั้ง ทำให้ชาวเลและชาวเลสิงห์มีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น

ช่วงเวลา

เนื่องจากชาวเลซึ่งเป็นชนพื้นเมืองที่เร่ร่อนเลี้ยงชีพในทะเลในจังหวัดภูเก็ต จำแนกตามกลุ่มที่ทำใช้ภาษาได้ ๒ กลุ่ม มีการประกอบพิธีกรรมที่แตกต่างกันดังนี้


๑. ชาวเล คือกลุ่มที่อาศัยอยู่บ้านสะบำและบ้านแหลมตุ๊กแก ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต จะทำพิธีการลอยเรือชาวเลในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และเดือน ๑๑ เวลา ๐๖.๐๐ น.
๒. ชาวเลสิงห์ คือกลุ่มที่อาศัยอยู่ที่บ้านแหลมหลาและบ้านเหนือ ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต จะทำพิธีการลอยเรือชาวเลในวันขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๖ และเดือน ๑๑ เวลา ๑๘.๐๐ น.

ประเพณีปล่อยเต่า

เป็นการทำบุญ และพระสวดมนต์ให้ศีลให้พรเสร็จ ก็จะมีการปล่อยเต่าลงทะเล ณ อุทยานแห่งชาติหาดไนยาง ในวันที่ 13 เมษายน ( วันสงกรานต์ ) ของทุกปี กรมประมงได้กำหนดให้เป็นวันประมงแห่งชาติ จัดให้มีประเพณีปล่อยลูกเต่าลงทะเลโดยจะจัดงานในบริเวณหาดต่างๆ ในภูเก็ต

กิจกรรม / พิธี

การปล่อยเต่านั้นเดิมจัดขึ้นที่หาดป่าตอง ต่อมาเปลี่ยนมาจัดที่หาดไนยาง ซึ่งเต่าได้ขึ้นมาวางไข่เป็นประจำทุกปี พิธีเริ่มด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้เป็นประธานในพิธีจะทำการปล่อยเต่าเป็นคนแรก จากนั้นชาวบ้านและนักท่องเที่ยวนำเต่าเล็กๆ โดยขอจากสถานีประมง หรือบริจาคเงินสมทบทุนโครงการอนุรักษ์เต่าทะเลตามแต่ศรัทธา นำไปปล่อยลงทะเล เต่าที่ปล่อยมีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป

 

นอกจากการปล่อยเต่าแล้วยังมีการละเล่นของชาวบ้าน เช่น มวยทะเล รำกลองยาว ชักเย่อ และการละเล่นอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้กรมประมงได้จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเต่าทะเล และสัตว์ทะเลอื่นๆ ให้ชมกันในงานด้วย

เทศกาลอาหารทะเล

เดือนพฤษภาคมของทุกปีจัดขึ้นประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี มีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่อาหารทะเล ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดภูเก็ต ชักชวนให้นักท่องเที่ยว เดินทางมาท่องเที่ยวภูเก็ตในฤดูฝน กิจกรรมของงานมีการประกวด ขบวนแห่ทรัพยากรท่องเที่ยวทางทะเล การออกร้านจำหน่ายอาหารทะเล การสาธิตอาหารประจำภาค การแสดงศิลปวัฒนธรรมของภาคต่างๆ

การแข่งขันนี้จัดขึ้นในเดือนธันวาคมของทุกๆ ปี ที่ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง โดยในแต่ละปีได้กำหนดเส้นทางการแข่งใหม่อยู่เสมอ การแข่งขันไตรกีฬา ประกอบไปด้วย ว่ายน้ำ 1,000 เมตร ขี่จักรยาน 5 กิโลเมตร และวิ่ง 12 กิโลเมตร ใช้เวลาในการแข่งทั้งหมดราว 2-5 ชั่วโมง ผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัล เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับนักกีฬาทั่วโลก
โรงแรม ที่พัก ใกล้เคียง ขณะแข่งขันไตรกีฬา:
- เชอราตัน แกรนด์ ลากูน่า
- ดุสิตธานี ลากูน่า รีสอร์ท
- ลากูน่า บีช รีสอร์ท
- เบสท์ เวสท์เทิร์น อัลรามันดา ลากูน่า

 

การแข่งขันลากูน่าไตรกีฬา

bottom of page