top of page

การปกครอง

 

จังหวัดภูเก็ต ได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ (อำเภอถลาง อำเภอกะทู้ และ อำเภอเมือง) 17 ตำบล 103 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (เทศบาลนครภูเก็ต) 2 เทศบาลเมือง (เทศบาลเมืองป่าตอง และ เทศบาลเมืองกะทู้) 6 เทศบาลตำบล และ 9 องค์การบริหารส่วนตำบล

 

ระบบการปกครองของประเทศไทย เมื่อรัฐบาลต้องอาศัยการบริหารจากส่วนกลาง ดังนั้นตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนจะได้รับการแต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทยในกรุงเทพฯ

สำหรับตำแหน่งนายอำเภอหรือปลัดอำเภอ ของเมืองภูเก็ตและป่าตอง มีการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นของตนเองด้วยการเลือกตั้งสภาเมืองโดยสมาชิกทำการเลือกตั้งตำแหน่งนายกเทศมนตรี

นอกจากนี้ยังมีการเลือกตั้งภายใน จังหวัด อำเภอ และตำบล

สำหรับตำรวจท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงมหาดไทย

 

จำนวนและลักษณะประชากร

 

เมื่อเดิอนธันวาคม พ.ศ. 2541 จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในทะเบียนราษฎร์ในจังหวัดภูเก็ต มีจำนวน 231,206 คน อีกทั้งภูเก็ตเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมจึงทำให้มีแรงงานหลั่งไหลเข้ามายังจังหวัดภูเก็ตอย่างต่อเนื่อง ทำให้จำนวนประชากรจะแตกต่างกันไปในแต่ละปีประชากรในจังหวัดภูเก็ตแต่เดิม ได้แก่ เงาะซาไก และชาวยิปซีทะเล หรือ ชาวเล ต่อมาได้มีชาวอินเดีย ชาวไทย และชาวจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพเข้ามาตั้งรกรากที่นี่ ทำให้ภูเก็ตมีการผสมผสานและสืบต่อวัฒนธรรมของชาติต่างๆ เข้าด้วยกัน จนเป็นเอกลักษณ์ของชาวภูเก็ตมาจนถึงทุกวันนี้ Palm Tree

ประวัติภูเก็ต

 

ภูเก็ตหรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในชื่อว่า เมืองถลาง เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทยมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างจากจังหวัดอื่น คือเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ชื่อ ภูเก็ต เป็นคำที่เขียนสะกดผิดพลาดมาจากคำว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลว่าภูเขาแก้ว

 

ส่วนคำว่า ถลาง มาจากคำ Junk Ceylon, Silan, สลาง และฉลาง ปัจจุบันถลางเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต

Sea Gypsie Villageเดิม คำว่า ภูเก็ต นั้นใช้คำว่า ภูเก็จ อันแปลว่าเมืองแก้ว ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียกมณีคราม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดียโดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือหนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ.700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายูซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ตนั่นเอง

 

จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงค์ ต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศิริธรรมนคร เรียกเกาะภูเก็ตว่าเมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตรโดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางได้ไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่าสำหรับในสมัยอยุธยาชาวฮอลันดามาสร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต

 

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นกษัตริย์พม่าได้ยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ต่างๆ จนมาถึงเมืองถลาง ขณะนั้นเจ้าเมืองถลางถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภริยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 จึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านผู้หญิงจันเป็นท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็น ท้าวศรีสุนทรและในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งขึ้นเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปีพ.ศ. 2476 ได้ยกเลิก ระบอบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็นจังหวัดภูเก็ต จนถึงปัจจุบัน

bottom of page